องค์การบริหารส่วนตำบลโคคลาน อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว : www.ko-klan.go.th

 
 
ข่าวประชาสัมพันธ์


กำเนิดอาเซียน

    รายละเอียดข่าว

ระชาคมอาเซียน

อาเซียน มีประวัติศาสตร์มายาวนานถึง 45 ปี ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก มีทั้งยุครุ่งเรื่อง ยุคทอง ยุคตกต่ำ (ยุควิกฤตเศรษฐกิจ) เราก็ผ่านมาหมดแล้ว ยุควิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งเกิดขึ้นในปี 1997 อาเซียนก็ตกต่ำมาก ดังนั้นหลังวิกฤตเศรษฐกิจ อาเซียนจึงหันกลับมามองว่า เราต้องกลับมาเดินหน้ากันต่อ จึงเป็นที่มาที่ได้มีการผลักดันให้มีการบูรณาการกันมากขึ้น ในปี 2002 สิงคโปร์ได้เสนอเรื่องการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนขึ้น และในปี 2003 มีการต่อยอดออกไป ในการประชุมสุดยอดที่บาหลี อินโดนีเซีย ก็ได้ตกลงกันว่า จะมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น ซึ่งในตอนแรกตกลงกันว่า ภายในปี 2020 แต่ต่อมาก็ร่นมาเป็นปี 2015

ประชาคมอาเซียนมี 3 ประชาคมย่อย

ประชาคมย่อยที่ 1 คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งจะให้ความสำคัญในเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง การพัฒนาทางการเมือง ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน การสร้างกลไก ป้องกัน และแก้ไขความขัดแย้ง หัวใจของประชาคมการเมืองและความมั่นคง คือ กลไกการแก้ไขความขัดแย้ง แต่เราอาจจะคิดอยู่ในใจว่า อาเซียนมีกลไกแก้ไขความขัดแย้งที่มีประสิทธิภาพแล้วหรือยัง ดูจากกรณีไทย – กัมพูชา จะเห็นได้ว่า อาเซียนยังไม่มีกลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่มีประสิทธิภาพ

ประชาคมย่อยที่ 2  คือ ประชาคมเศรษฐกิจ ประชาคมเศรษฐกิจให้ความสำคัญในเรื่องการทำให้เป็นตลาดเดียว และฐานการผลิตเดียว การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า เปิดเสรีด้านการค้าภาคบริการ เปิดเสรีการลงทุน การเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น และการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือ จะเห็นได้ว่า การเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายเงินทุนไม่ใช้คำว่า free แต่ใช้คำว่า freerหมายความว่า ยังเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้ไม่ 100% ส่วนที่สองที่เรายังเปิดเสรีไม่ได้ คือ เรื่องแรงงาน จึงจำกัดอยู่เฉพาะการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือเท่านั้น แรงงานไร้ฝีมือยังเปิดไม่ได้

ส่วนประชาคมย่อยที่ 3 ของประชาคมอาเซียน คือ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเกี่ยวกับความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน ในอดีต ไทยอาจจะต้องทำคนเดียวในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อาจจะต้องทำคนเดียวในเรื่องการให้สวัสดิการสังคม แต่ต่อไป ในเมื่อเราจะเป็นประชาคม 10 ประเทศจะต้องมาร่วมมือกันในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ร่วมมือในการให้สวัสดิการสังคม ร่วมมือกันในเรื่องของการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และร่วมมือกันในการสร้างอัตลักษณ์ร่วมของอาเซียน อัตลักษณ์ร่วมมีความสำคัญมาก เพราะถ้าจะเป็นประชาคมก็จะต้องมีอัตลักษณ์ร่วมกัน  ต้องมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน ทำอย่างไร ประชากร 600 ล้านคน จะรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน ซึ่งจะต้องสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมา หรืออาจจะต้องค้นหาอัตลักษณ์ร่วม ที่เราอาจจะมีอยู่แล้ว



    เอกสารประกอบ

กำเนิดอาเซียน
 
    วันที่ลงข่าว
: 4 มี.ค. 2558
    ผู้ลงข่าว : ผู้ดูแลระบบ